เสรีภาพในการนับถือความเชื่อสำคัญอย่างไร


เรื่องของความเชื่อ ลัทธิ ศาสนานั้นถือว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคลเราไม่ควรก้าวล่วงซึ่งกันและกัน ดังคำว่า การเมือง ศาสนา ไม่ควรคุยกันนั่นเอง แม้ว่าประเทศไทยเองถือว่ามีสิทธิเสรีภาพในการนับถือ ความเชื่อตามแนวทางของตัวเอง หากเราคิดต่อไปอีกว่า การให้เสรีภาพในการนับถือความเชื่อนั้นจะมีความสำคัญอย่างไร ไม่เกิดการบังคับให้เชื่อ หากเสรีภาพในการเลือกความเชื่อเกิดขึ้นได้จริง เราจะไม่ได้เห็นการบังคับให้เชื่อตามแนวคิดไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม บางคนเชื่อศาสนาตามทะเบียนบ้าน บางคนเชื่อตามพ่อแม่บรรพบุรุษ เป็นต้น การบังคับให้เชื่อนั้นจะทำให้ความเชื่อนั้นเกิดขึ้นได้ไม่ทนทานพอ พอคนรุ่นต่อไปโดนบังคับให้เชื่ออีกพวกเค้าจะเกิดข้อขัดแย้งขึ้นมาในใจจนสุดท้ายหลีกหนีไปจนได้ การเลือกเชื่อด้วยความสมัครใจ การมอบเสรีภาพในการเลือกความเชื่อของตัวเอง จะทำให้คนเลือกความเชื่อของตัวเองด้วยความสมัครใจ ข้อนี้สำคัญมาก หากคนเราเลือกจะเชื่อด้วยความต้องการของตัวเองแล้ว พวกเค้าจะต้องศึกษาวิธีการขั้นตอน หลักการของความเชื่อนั้นอย่างตั้งใจ อีกทั้งการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อนั้นก็จะทำอย่างเต็มที่ อันจะส่งผลให้ศาสนานั้นเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปภายภาคหน้าเรื่อยไป อีกประการหนึ่งหากเลือกนับถือศาสนาด้วยความสมัครใจ เข้าใจ ศึกษาอย่างถ่องแท้ก็จะทำให้การอธิบายความเชื่อของตัวเองต่อคนอื่นนั้นทำด้วยความสุข ความเข้าใจ อีกด้วย การเลิกเชื่อด้วยความสมัครใจ เสรีภาพของความเชื่อทางศาสนาไม่ได้หมายถึงการเข้าร่วมอย่างเดียว ยังหมายถึงการออกจากความเชื่อนั้น พูดให้เข้าใจว่าเลิก เปลี่ยน ความเชื่อของตัวเองยังทำได้อีกด้วย บางความเชื่อหากคนเลิกเชื่อในแนวคิดนั้นไปจะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี ไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึงหลักศาสนานั้นๆ ด้วย ซึ่งการเลิกเชื่อด้วยความสมัครใจนั้นย่อมหมายถึงว่า เราได้ศึกษาแนวคิด ความเชื่อนั้น จากนั้นวิเคราะห์ว่ากันไม่ได้จึงเลิกมากกว่า ไม่เกิดการลบหลู่ซึ่งกันและกัน ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการนับถือศาสนา ความเชื่ออันแตกต่างกันนั่นคือ…

ความเชื่อด้านสิทธิมนุษย์ชนมีเรื่องอะไรบ้าง


สิทธิมนุษยชน มักจะเป็นคำแรกเสมอเวลาเราได้ยินเรื่องอะไรสักอย่างที่ไม่ยุติธรรมซึ่งกันและกัน จนบางครั้งเราเองก็สงสัยนะว่า สิทธิมนุษยชนนี้เค้าครอบคลุมในเรื่องอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาดูกันว่าสิทธิมนุษยชนเค้าพูดกันเรื่องอะไร สิทธิในการเลือกเพศ เรื่องแรกมาแรงมาก หลังจากมีผู้รู้คนหนึ่งกำลังจะเปิดสัมมนาเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรในกรณีเค้าอยากเป็นเพศทางเลือก กลับโดนถล่มเละเนื่องจากมองว่า การเป็นเพศทางเลือกไม่ได้เป็นความผิด นี่ก็เป็นตัวอย่างการแสดงสิทธิมนุษยชนเช่นกันเค้าเชื่อกันว่าคนทุกคนสามารถมีสิทธิจะเลือกเพศของตัวเองได้ จะเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือจะเป็นเพศทางเลือกอื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน ไทยเราเรื่องนี้ถือว่าเปิดกว้างมากขึ้น สิทธิในด้านความเชื่อ เรื่องของความเชื่อ และ ศาสนา บ้านเรามีมานานแล้ว นักสิทธิมนุษยชนมักเชื่อว่าคนเรามีสิทธิ์จะเชื่อหลักตามศาสนาใดก็ได้ หรือ จะไม่เชื่อศาสนา ไม่มีศาสนาเลยก็ได้เหมือนกัน เรื่องนี้ประเทศไทยถือว่าทำได้ดีนะ เนื่องจากประเทศไทยเปิดรับทุกศาสนา ทุกความเชื่อ อยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข จะพุทธ คริสต์ อิสลาม เต๋า ซิกข์ ชินโต ฯลฯ ก็มีหมด ยังไม่นับรวมความเชื่อสุดแปลกที่ต้องบอกว่าไม่น่าจะมีก็มีจนกลายเป็นข่าวดังมาหลายรอบ หากความเชื่อเหล่านั้นไม่สร้างความเดือดร้อนก็ดีไป สิทธิด้านการเมือง ความแตกต่างอันร้อนแรงสุดในประเทศไทย คงหนีไม่พ้นเรื่องการเมือง การเมืองไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถือว่าหนักมาก ยิ่งช่วงความขัดแย้งหนัก หรือที่เรียกกันว่า กีฬาสีนั้น ประเทศไทยอ่วมเลย…

งานพาเหรดชาวสีม่วง ประเทศบราซิล


คำๆ หนึ่งที่เรามักได้ยินและเข้าใจกันดีว่าเป็นคำเรียกสำหรับกลุ่มคนที่เป็นเพศที่ 3 นั่นคือ ชาวสีม่วง เหมือนเป็นคำที่เรียกและใช้กันมาอย่างยาวนาจนพอจะสรุปให้เข้าใจได้ทันทีว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่การใช้คำว่า ชาวสีม่วง นั่นก็หมายถึงกลุ่มคนที่มีความต้องการทางเพศแตกต่างออกไปจากเพศปกติที่เป็นเพศชายกับเพศหญิง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จริงๆ แล้วก็เป็นกลุ่มบุคคลหนึ่งในสังคมที่มีความสามารถหลากหลายแต่ด้วยความที่หลายๆ ประเทศยังไม่เปิดใจยอมรับจึงทำให้กลุ่มชาวสีม่วงขาดโอกาสในด้านต่างๆ ด้วยเหตุนี้ประเทศบราซิลเลยมีการจัดงานพาเหรดของชาวสีม่วงขึ้นเพื่อหวังจะให้รัฐบาลและผู้คนอื่นๆ ได้เข้าใจพวกเขามากขึ้น งานพาเหรดสีชาวสีม่วง งานสำหรับเพศที่ 3 ในบราซิล ประเทศบราซิลซึ่งเป็นประเทศใหญ่ในแถบอเมริกาใต้ก็ได้มีการจัดงานเทศกาลพาเหรดชาวสีม่วงที่ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นมาเป็นประจำทุกปี แต่ละปีก็จะมีผู้เข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก บางทีก็เหยียบล้านคนกันเลยทีเดียว ซึ่งผู้ร่วมงานในครั้งนี้ส่วนใหญ่ต้องการออกมาเรียกร้องเพื่อให้บราซิลออกกฎหมายคุ้มครองด้านสิทธิที่พวกเขาพึงมีให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและกลุ่มประชาชนทั่วไปจะมีการรวมตันบริเวณเมืองเซาเปาโล เจ้าหน้าที่ภายในเมืองจะทำการปิดถนนสายหลักเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมขบวนพาเหรดดังกล่าวได้มีการเฉลิมฉลองพร้อมกับมีการทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย ภายในขบวนดังกล่าวจะเต็มไปด้วยบุคคลชื่อดังพร้อมด้วยประชาชนทั่วไป นักเต้นทั้งหลายจะมีการแตงตัวแบบหลากหลายสีตามสไตล์คนบราซิลจะมาพร้อมรูปภาพจำลองของเทพีเสรีภาพ นอกจากนี้ก็ยังมีในเรื่องของป้ายข้อความที่ต้องการแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มคน LGBT+ เพื่อต้องการให้สถานภาพของเขาได้รับการรับรอง เป็นที่ยอมรับของสังคม กฎหมาย การเมือง สำหรับเทศกาลดังกล่าวนี้มีการจัดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2540 มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีและในปี 2549 ก็ได้รับการจดบันทึกจากกินเนสบุ๊กว่าเป็นขบวนพาเหรดชาวสีม่วงที่มีผู้เข้าร่วมเยอะที่สุดกว่า 2.5 ล้านคน ถึงกระนั้นก็ยังมีบางส่วนที่แสดงความคิดเห็นออกมาว่าแม้บราซิลจะมีการจัดขบวนพาเหรดชาวสีม่วงแต่กฎหมายสำหรับคุ้มครองกลุ่ม LGBT+ ของประเทศบราซิลยังถือว่ามีการครอบคลุมน้อยเกินไปหกเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างอาร์เจนติน่าที่มีกฎหมายส่งเสริมเกี่ยวกับเพศทางเลือกมาตังแต่ปี 2543 แต่สำหรับบราซิลพึ่งมีการออกกฎหมายคนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เอง

LGBTQ+ คืออะไรแล้วมีความหมายอะไรกับเราหรือไม่


ในยุคสมัยนี้กลุ่มคนเพศที่ 3 ซึ่งนอกเหนือไปจากเพศชายและเพศหญิงถือว่าได้รับการเปิดกว้างจากสังคมมากกว่ายุคก่อนๆ หน้านี้เยอะมาก นั่นทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือมีการตั้งกลุ่มเรียกว่า LGBTQ+ ขึ้นมา หลายคนอาจสงสัยว่า LGBTQ+ ที่ว่านี้คืออะไรเป็นกลุ่มที่มีความหมายหรือวัตถุประสงค์อย่างไร จริงแล้วตัวอักษรแต่ละตัวของคำว่า LGBTQ+ นั้นต่างก็มีความหมายในแบบฉบับของตนเองซึ่งแสดงออกถึงการเป็นเพศที่ 3 ได้อย่างน่าสนใจ ทำความรู้จักกับ LGBTQ+ L – Lesbian เลสเบี้ยนเป็นคำเรียกของคนที่เป็นหญิงรักหญิง ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งในความหมายที่ว่าทอมกับดี้ที่บ้านเรามักใช้เรียกกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำตัวห้าวๆ ตัดผมสั้น รัดหน้าอกให้แบนเหมือนผู้ชาย มีท่าทางเหมือนผู้ชายกับกับคนรักของเขาที่เป็นผู้หญิงทั่วไปแต่ชอบคนเพศเดียวกัน กับอีกประเภทที่เป็นหญิงรักหญิงแต่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกว่าคนหนึ่งเป็นชายก็ได้ G – Gay เกย์ คือสถานภาพของชายรักชาย คำว่าเกย์ในความหมายที่แท้จริงไม่ได้หมายความว่าผู้ชายที่แต่งตัวเป็นหญิงแล้วชอบผู้ชาย แต่จะหมายถึงว่าผู้ชายที่ทำตัวภายนอกเหมือนกับผู้ชายทั้งแท่งแต่มีลักษณะการชอบความรักในเพศเดียวกัน ไม่รู้สึกชอบในเพศหญิงหากต้องการได้มาเป็นแฟนหรือคู่ครองก็ต้องการผู้ชายมากกว่า จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงลักษณะตัวเองเหมือนกับกะเพยหรือตุ๊ดแต่อาจมีการแสดงออกเรื่องท่าทางบ้าง B – Bisexual – เป็นกลุ่มคนที่สามารถชอบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง การแสดงออกของกลุ่มที่คนไทยเรียกว่า ไบ จะแสดงออกด้วยความเป็นตัวเองคือถ้าเป็นผู้ชายก็แสดงออกว่าตนเองเป็นชายแต่สามารถชอบในฐานะคนรักหรือมีความสัมพันธ์ได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิงไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันเท่านั้น T – Transsexual – ความหมายคือคนที่เกิดมาโดยการมีเพศธรรมชาติซึ่งก็หมายถึงว่ามีอวัยวะที่แสดงออกว่าตนเองเพศอะไร แต่ในใจกลับรู้สึกว่าตนเองไม่ต้องการเป็นเพศนี้ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ตัวเองเป็นเพศอย่างที่ใจต้องการ…

ความเท่าเทียมกันของกลุ่มเพศที่ 3 สามารถจดทะเบียนสมรสและแต่งงานกันได้


หากพูดถึงเรื่องของ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต มันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต่างพยายามผลักดันกันมานานแล้ว ในเรื่องของการเรียกร้องพ.ร.บ.คู่ชีวิต เพื่อให้คู่รักเพศเดียวกันได้รับสิทธิถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ไม่ต่างอะไรกับชายหญิงทั่วไป ในขณะที่ประเทศฝั่งตะวันตกจำนวนมากให้การยอมรับมานานแล้ว ประเทศที่มีกฎหมายรองรับให้เพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ตอนนี้มีอยู่ 19 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, แอฟริกาใต้, สเปน, แคนาดา, เวลส์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, ไอซ์แลนด์, เม็กซิโก, โปรตุเกส , นิวซีแลนด์, อุรุกวัย , เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, สวีเดน, นอร์เวย์ , เดนมาร์ก และอาเจนติน่า ส่วนประเทศเยอรมนี มีกฎหมายให้จดทะเบียนแบบ Partnership ถึงจะไม่ใช่การสมรสตามแบบฉบับทุกประการ แต่ก็มีสิทธิเท่าเทียมกับการสมรสตามปกติ และถ้าผ่านความเห็นชอบ ก็จะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับ 20 ของโลก รวมทั้งเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ พ.ร.บ.คู่ชีวิตนี้ นอกจากจะให้สิทธิ์ในเรื่องของการจดทะเบียนสมรสแล้ว มันยังพ่วงกับสิทธิอื่นๆ อีกหลายประการ…

ขบวนงานพาเหรด LGBT ณ โตเกียว มีคนเข้าร่วมเยอะที่สุด


วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ณ Shibuya ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการจัดงานเดินพาเหรด Tokyo Rainbow Pride เพื่อเฉลิมฉลองให้แก่กลุ่ม LGBT หรือ กลุ่มบุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศ งานนี้มีผู้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมกิจกรรมมากถึง 6,000 คนเลยทีเดียว เป็นจำนวนเยอะที่สุดเท่าที่เคยจัดงาน Tokyo Rainbow Pride มาตั้งแต่ปี 2012 และมากกว่าปีก่อนประมาณ 1,000 คน ในปีนี้ใช้เวลาจัดงานทั้งหมด 9 วันเต็ม ภายในงานมีทั้งการจัดนิทรรศการ , Workshop , การบรรยายวิชาการ , งาน Party โดยมีงาน พาเหรดเป็นไฮไลต์สำคัญวันสุดท้าย โดยงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ อันเนื่องมาจากได้ผู้ใหญ่ใจดีมาสนับสนุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Sony, Johnson & Johnson, Buzzfeed ,…